18/11/57

ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ สนใจในศิลปะน้อยกว่าที่น่าจะเป็น

ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ถึงได้สนใจในศิลปะ 

น้อยกว่าที่มันน่าจะเป็น

ต้องขอเกริ่นนำบอกกล่าวไว้ก่อนนะครับว่า นี่เป็นความรู้สึกโดยส่วนตัวของผมเองนะครับ 
ที่มองว่าทำไมคนไทยส่วนใหญ่ถึงได้สนใจในศิลปะ น้อยกว่าที่มันน่าจะเป็น

คนไทยส่วนใหญ่สนใจในศิลปะน้อยกว่าที่น่าจะเป็น

เหตุที่ผมเกิดความสงสัยแบบนี้ นั่นเพราะว่าหลังจากผมได้ลองสร้างบล็อกนี้
แล้วผมก็ได้ไปหาข้อมูล ด้วยการไปเข้าเว็ปไซต์ของคนไทย
ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องของ ศิลปะต่างๆ
ผมรู้สึกว่าเว็ปไซต์เหล่านั้น มีคนให้ความสนใจเป็นจำนวนที่น้อยมากๆ
(น้อยจนน่าเห็นใจแทนคนทำเว็ปดีๆ สวยๆ)
แม้กระทั่ง เว็ปบอร์ดพันทิป ที่มีผู้คนเล่นกันอย่างมากมายมหาศาล
ในส่วนที่เป็นห้องเรื่องของศิลปะ ก็มีคนสนใจตั้งและตอบกระทู้ น้อยเอามากๆ
(แต่ในความเป็นจริงแล้ว ที่ว่าคนไทยส่วนใหญ่สนใจในศิลปะน้อยนั้น
มันอาจจะใช่ หรือว่าไม่ใช่ อย่างที่ผมรู้สึกก็ได้ เพราะไม่ได้มีการสำรวจอย่างจริงจังอะไร)


ในปีค.ศ. 1972
นายแพทย์ โรเจอร์ สเปอร์ (Dr. Roger Sperry) ซึ่งเป็นศัลยแพทย์ทางประสาท
จากสถาบันเทคโนโลยี แห่งแคลิฟอเนีย
ได้รับรางวัลโนเบล จากการศึกษาทดลองทางด้านสมองทั้งสองซีก
ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจว่า สมองทั้งสองซีก จะมีความถนัดในเรื่องต่างๆแตกต่างกัน คือ
สมองทางซีกซ้ายจะมีศักยภาพเกี่ยวกับภาษา การฟัง ความจำการวิเคราะห์ เหตุผล
การจัดอันดับ การคิดคำนวณ สัญลักษณ์ เหตุผลเชิงตรรกและวิทยาศาสตร์
ส่วนสมองซีกขวาจะมีศักยภาพเกี่ยวกับจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์
ความรู้สึกรับรู้ภาพรวม การรับรู้ทางประสาทสัมผัส
ศิลปะ สุนทรี รูปทรง รูปแบบ สี ดนตรี มิติสัมพันธ์และการเคลื่อนไหว
จะเห็นได้ว่าถ้าเราต้องการมีจินตนาการก็ต้องใช้สมองซีกขวาบ้างแต่ที่คนส่วนใหญ่
มักขาดการเชื่อมโยงศิลปะ ก็น่าจะมาจาก ช่วงชีวิตที่ ขาดจินตนาการ
ที่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับ ที่มากเกินไป จนไม่มีการฝึกฝนจินตนาการ

ข้อมูลอ้างอิง
นายแพทย์โรเจอร์ สเปอร์ (Dr. Roger Sperry)
http://en.wikipedia.org/wiki/Roger_Wolcott_Sperry


ศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น ดนตรี ภาพวาด การแสดง รูปปั้น ฯลฯ นับได้ว่าเป็นสื่อสากล ของโลก
ศิลปะ แทรกซึมอยู่ในทุกๆที่ ตั้งแต่ข้าวของในบ้าน จนเราก้าวเท้าออกจากบ้าน
เพียงแต่เราจะสังเกตุเห็นมันรึเปล่า
หากเรา เริ่มคิดถึงตั้งแต่จุดเริ่มต้น
เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก เด็กไทยมักจะถูกจำกัดให้อยู่ในกรอบที่ผู้ใหญ่กำหนดที่มากเกินไป หรือไม่
ผู้ใหญ่ในบ้านเราได้ปลูกฝัง บังคับ หรือสั่งสอน
ในสิ่งที่บังเอิญไปปิดกั้นจินตนาการของเด็กๆหรือเปล่า
ถ้าหากเราปล่อยให้เค้าได้มีจินตนาการบ้าง ไม่ไปบังคับ
หรือสั่งสอนในสิ่งที่ตนต้องการตลอดเวลา
จินตนาการของเด็กไทย ก็อาจจะกว้างไกลมากกว่าที่ผมสงสัยอยู่ในตอนนี้ก็ได้

(ในปัจจุบัน ผมรู้สึกว่า สถานศีกษาต่างๆให้ความสนใจในเรื่องศิลปะ
และการใช้จินตนาการของเด็กมากขึ้นกว่าสมัยที่ผมยังเรียน ซึ่งนับเป็นทิศทางที่ดี)

เหตุที่คิดว่าคนไทยส่วนใหญ่สนใจในศิลปะ น้อยกว่าที่ควรจะเป็นตามความคิดของผมเอง

1 เป็นเพราะว่าสภาพเศรฐกิจของครอบครัวส่วนใหญ่ ที่ไม่ค่อยจะดีนักหรือเปล่า
ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องปากท้องก่อน
เรื่องอื่นๆที่ดูแล้วไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตถึงจะค่อยตามมา
จากด้วยความเครียด และเพื่อต้องการผ่อนคลายสมอง
การพักผ่อนของคนไทย จึงมักเป็นการเสพสิ่งบันเทิงที่ง่ายๆ
เช่น ละครโทรทัศน์ที่ไม่ต้องคิดมาก หรือ ฟังเพลงป๊อปที่ฟังง่ายๆสบายๆ
ไม่ต้องการจินตนาการอะไรมากมาย

แต่ศิลปะแท้จริงนั้น มักจะมาคู่กับจินตนาการ
แต่คนส่วนใหญ่ที่ในตอนเด็ก ที่มีกรอบครอบมากไป จินตนาการจึงไม่ได้รับการฝีกฝน
ไม่สามารถโยงชีวิตจริง กับจินตนาการให้มาหากันได้
(ให้ลองนึกถึง ซิมโฟนี่ four season ของ vivaldi ว่ามีจินตนาการที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงเช่นไร)
เมื่อโตมาจินตนาการโดยส่วนใหญ่ ก็จึงมักจะมีแต่เรื่องที่ว่า
อยากจะมีฐานะที่ดีขึ้น หลุดพ้นจากความยากจน ซึ่งนั่นก็ไม่น่าจะเรียกว่า จินตนาการนะครับ

2 ตัวศิลปินบางท่านเอง ก็ทำตัวเหินห่าง จากชาวบ้านประชาชน หรือเปล่า
ศิลปะจริงๆ ของศิลปินจริงๆ มันถึงได้ดูห่างจากชาวบ้านสามัญธรรมดา
ประมาณว่า ศิลปินไม่ได้เข้ามาใกล้ชิดผูกพันธ์กันกับคนทั่วๆไป
มีคนที่เข้าถึงได้เพียงน้อยนิด

ผมคิดเอาเองว่า คนที่จะเรียกได้ว่าเป็น ศิลปิน
ควรต้องมีผลงานที่จับใจคน และเป็นที่ยอมรับในระดับหนึ่ง (ซึ่งผมก็ไม่รู้จะอธิบายยังไง(- -")

แต่คำว่าศิลปิน ในประเทศไทยมันจับฉ่ายเกินไปหรือเปล่า
-นักร้องเพลงง๊องแง๊ง  ก็เรียกตัวเองว่า เป็น ศิลปิน
-วาดรูปได้นิดหน่อย ทำตัวให้แปลกประหลาดนิดหน่อย ก็เรียกตัวเองว่า เป็น อาร์ทติส
โดยทั่วๆไปแล้ว เราควรแยกเรียกไปตามสาขาอาชีพเหมือนในต่างประเทศมากกว่า ว่าเป็น
นักร้อง, ช่างวาดภาพ, ช่างปั้น, นักดนตรี, นักแสดง, ดีไซน์เนอร์ ฯลฯ ก็ว่ากันไป
(หากใช้คำว่าศิลปิน จนจับฉ่ายเกินไป ศิลปะจริงๆ  ศิลปินจริงๆ ก็จะถูกลดคุณค่าโดยไม่รู้ตัว)

ผมคิดว่าคนไทยนั้น มีศิลปะอยู่ในตัวมาตั้งแต่เกิด เป็นเหมือนกับคนชาติอื่นๆนั่นล่ะครับ
แต่ไม่รู้ว่ามันจางหายไปในขั้นตอนไหน

-ถูกกำจัดกรอบให้ออกห่างจากศิลปะ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ชั้นประถม
หรือ ตอนที่มัวแต่ทำมาหากิน ทำให้ต้องออกห่างจากศิลปะ หรือเปล่า


-เป็นความสงสัยเฉยๆ 
ที่สมองอันโง่ๆของผม ก็ไม่สามารถคิดหาทางออกมาบอกท่านๆได้
จึงสรุปว่า เป็นข้อสงสัย ด้วยความที่ไม่อยากให้เด็กๆของเราออกห่างจากศิลปะ
ด้วยความเป็นห่วงวงการศิลปะของบ้านเรา ของตัวผมแค่นั้นเองล่ะครับ....(- -")
ศิลปะทุกแขนงนั้น มีคุณค่านานับประการ
ว่าแต่ว่า ท่านๆ เคยสงสัยเหมือนผมไหมครับ


About the Author:
Pramote Patana :Creator of the work.
Pramote Patana :Blog Administrator.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...