เคยสงสัยกันบ้างไหมครับ...??
ทำไมเด็กบางคนจึงเครียดง่าย
digital drawing serious kids
ความเครียดไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ใหญ่เพียงเท่านั้น เด็กๆก็เครียดเป็นเหมือนกันนะครับ
เด็กบางคนก็โชคดี ที่สามารถรับมือสถานการณ์ต่างๆได้โดยไม่รู้สึกเครียดอะไรเลย
แต่เด็กบางคนอาจรู้สึกกับสถานการณ์บางอย่างมากกว่า
เพราะว่าเด็กๆแต่ละคนมีจุดอ่อนไหวไม่เหมือนกัน
ต้นเหตุที่ทำให้เด็กเครียด เศร้า หดหู่ หรือเครียดได้ง่ายกว่าเด็กคนอื่นๆ
ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุกลุ่มใหญ่ๆ เหล่านี้
1. โรงเรียนทำให้เครียด ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ก็ทำให้เด็กเครียดได้
จะเกิดขึ้นได้บ่อยกับเด็กที่เปลี่ยนจากอนุบาลเป็น ป.1
การต้องมาเจอสิ่งใหม่ๆ ทั้งโรงเรียน เพื่อน ครู การต้องเข้าห้องน้ำที่โรงเรียน
รวมถึงสิ่งที่ต้องทำ เช่น มีการบ้านเยอะๆ การสอบ การแสดงหน้าชั้น หรือ ฯลฯ
ภาวะกดดันเหล่านี้ อาจจะทำให้เด็กเกิดความหวาดวิตกจนเครียดได้
2. เด็กเครียดจากปัญหาในบ้าน เช่น พ่อแม่หย่าร้างกัน พ่อแม่ทะเลาะกัน คนในครอบครัวเจ็บป่วย
พ่อแม่มีน้องใหม่ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วทำให้วิถีชีวิตของเด็กเปลี่ยนไป
3. เครียดเพราะทะเลาะกับเพื่อนหรือคนรอบข้าง เด็กจะอ่อนไหวมากเมื่อทะเลาะกับเพื่อน
ทะเลาะกับพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด เป็นความรู้สึกสูญเสียคนรักไป ซึ่งเด็กไม่รู้ว่าจะแก้ไขความรู้สึกนี้ได้อย่างไร
ผลกระทบจากความเครียด
ความเครียดแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจจะทำให้จิตใจความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของเด็กหยุดชะงักได้
เด็กที่มีความเครียดอาจจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เข่น
ร้องไห้ งอแง เหงา ซึมเศร้า เก็บตัว ไม่อยากเล่นกับใคร ไม่เชื่อฟังพ่อแม่
ไม่อยากทำอะไรใหม่ๆ นอนไม่หลับ ฝันร้าย ตื่นนอนในเวลากลางคืน ฉี่รดที่นอน
มีอาการปวดท้อง ปวดศรีษะ และบางคนอาจจะถึงกับพัฒนาการถดถอย
สิ่งที่เคยทำได้ก็กลับกลายเป็นว่าไม่สามารถทำได้อีก สิ่งที่เคยชอบก็ไม่อยากที่จะทำอีกต่อไป
สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กหยุดยั้งการมีพัฒนาการตามวัยไปชั่วขณะได้
............................
จากผลงานวิจัยของ อลิซ เกรแฮม นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยโอเรกอน
กล่าวไว้ว่า ลูกน้อยที่ได้ยินเสียงพ่อแม่ทะเลาะ โต้เถียงรุนแรง จะกลายเป็นคนเครียดง่าย
แม้แต่ตอนที่พวกเขากำลังหลับ สมองของเด็กก็รับรู้ได้ ถึงเสียงแห่งความขัดแย้งเช่นกัน
โดยลักษณะสมองของเด็กๆ ที่กำลังพัฒนาอยู่นั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพแข็งแกร่งเหมือนผู้ใหญ่
จึงมีความไวต่อการตอบสนองสภาพแวดล้อมรอบตัว
เสียงทะเลาะเบาะแว้ง ตะคอกตะโกนกันนั้นยังไปสร้างความเครียด
และกลายเป็นตัวขัดขวางการพัฒนาการทางสมองของเด็กๆอีกด้วย
ในการศึกษาเรื่องนี้ ผู้วิจัยใช้เครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอ
วิเคราะห์ตรวจดูสมองของเด็กเล็ก 20 คน ในขณะนอนหลับ
จนสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างในการทำงานสมอง
หลังได้รับรู้โทนเสียงที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เสียงของการทะเลาะกันดังๆ
หรือโทนเสียงที่อ่อนนุ่ม ของผู้ใหญ่ที่พูดคุยกันตามปรกติ
อลิซ เกรแฮม ผู้วิจัย บอกว่า เรากำลังสนใจที่จะค้นหาแหล่งที่มาของความเครียด
โดยเชื่อว่าความขัดแย้งของพ่อแม่ มีความสัมพันธ์กับการทำงานของสมองเด็กน้อยเหล่านั้น
นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กที่เติบโตมาจากบ้านที่มีความขัดแย้ง มีการทะเลาะเบาะแว้งเสียงดัง
มักจะเป็นเด็กที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่าย
และควบคุมอารมณ์ได้ยากกว่า เด็กที่เติบโตมาจากบ้านที่มีความขัดแย้งน้อย
อย่างไรก็ตาม ดังที่หลายคนรู้กันมาว่า ตอนตั้งครรภ์ ถ้าหากคุณแม่ เครียด หรือขี้โมโห
นิสัยเหล่านั้นก็จะส่งผลถึงทารกในครรภ์ด้วย ซึ่งนักวิจัยย้ำว่า นั่นเป็นความจริง
และยังส่งผลให้เด็กเติบโตมาเป็นคนอารมณ์อ่อนไหว เครียดง่าย และขี้โมโห
credit :
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
takecareDD@gmail.com
.....................................
การช่วยลูกคลายเครียด
คุณพ่อคุณแม่ คุณผู้ปกครอง ควรสังเกตุเด็กๆให้ละเอียดในทุกๆ เรื่อง
เพราะถ้าหากเราสังเกตเห็นสัญญาณแห่งความเครียดในตัวเด็กๆได้เร็วแล้วเข้าไปช่วยคลายเครียด ช่วยแก้ไขได้แต่เนิ่นๆ
เด็กๆของท่านก็จะสามารถรับมือกับความเครียดได้ดียิ่งขึ้น
พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง จะสามารถช่วยคลี่คลายปมต่างๆ ในใจของเด็กๆได้ เช่นวิธีดังนี้
1. ยอมรับและเข้าใจ ควรทำความเข้าใจและตระหนักว่า
ความรู้สึกเครียด วิตกกังวลนั้น นับเป็นพัฒนาการขั้นหนึ่งของเด็ก
ไม่ควรดุด่าตำหนิ แต่ควรพยายามช่วยแก้ปัญหา แนะนำแนวทางต่างๆ และอยู่เคียงข้างเด็กเสมอ
2. ไม่บังคับกดดัน ไม่เร่งรัดให้เด็กทำในสิ่งที่เกินตัว ไม่ตั้งเป้าให้เด็กเป็นอย่างที่เราต้องการ
เช่น ต้องการให้เรียนเก่ง บังคับให้เล่นกีฬาให้เก่ง ฯลฯ แม้ว่าเด็กจะเก่งในเรื่องที่ถูกกดดันให้ทำ
แต่เด็กก็จะกลายเป็นคนที่เครียด และ ไม่มีความสุข ซึ่งเป็นการได้ที่ไม่คุ้มเลย
ดังนั้นเมื่อเราต้องการจะให้เด็กทำอะไร ก็ควรคำนึงถึงความสุขของเด็กด้วย
อย่าเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น
หากสมมติว่าเด็กสองคนจะมีนิสัยที่เหมือนกัน อยู่ในสถานการณ์ปัญหาเดียวกัน
แต่เด็กๆทุกคนนั้นจะมีเส้นทางเหตุการณ์แห่งชีวิตที่เป็นเฉพาะของตนเอง วิธีดูแลแก้ไขจึงจะต้องไม่เหมือนกัน
เราควรยอมรับในความสามารถของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กๆได้ทำในสิ่งที่เขาทำได้และชอบทำ
ให้ทำสิ่งนั้นๆให้ได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมจะเป็นการดีกว่า
3. พูดอย่างสร้างสรรค์ พูดในทางบวก ต้องมีอารมณ์ขัน อารมณ์ผ่อนคลายอยู่เสมอ
การชมเชย การให้กำลังใจ ควรใช้คำพูดที่สุภาพ และใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์เมื่อต้องสอนเด็กๆ
พยายามชี้ให้เด็กๆเห็นว่า ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆนั้น
เป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ไม่ใช่เรื่องที่น่าหวาดกลัวเสมอไป
4. พูดกับเด็กๆของท่านให้มากขึ้น ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบอยู่เสมอ
ถ้าเด็กๆมาเล่าอะไรให้ฟัง ก็ต้องรับฟังและให้การแนะนำ ใช้คำพูดที่ให้กำลังใจ
และถึงที่สุดแล้วไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็ต้องแสดงให้เห็นว่าพ่อแม่ยังรักอยู่เสมอ
ทำได้อย่างนี้มีอะไรลูกจะเล่าให้เราฟัง และเราจะได้เข้าไปช่วยแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
"เมื่อเราทราบอย่างนี้แล้ว
พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ในบ้าน ก็ควรที่จะมาร่วมมือกันลดความขัดแย้งในบ้าน
เพื่อสุขภาพจิตที่ดี ของลุกหลาน นะครับ" (^^)
About the Author:
Pramote Patana :Creator of the work.
Pramote Patana :Blog Administrator.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น