5/6/56

[children content] "left brain right brain" เด็กๆ กับการเรียนรู้ด้วยสมองซีกซ้ายและขวา

 เด็กๆ กับการเรียนรู้ด้วยสมองซีกซ้ายและขวา

 เป็นเรื่องที่เราๆต่างก็ได้รับรู้กันมาเป็นเวลานานแล้ว
ว่าสมองของคนเรานั้นจะประกอบด้วย สมองสองซีก
นั่นคือสมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไป
เด็กๆ กับการเรียนรู้ด้วยสมองซีกซ้ายและขวา
"left brain right brain"[digital drawing by pramote]
 หน้าที่ของสมองซีกซ้าย และของสมองซีกขวา คืออะไร
ในปีค.ศ. 1972นายแพทย์โรเจอร์ สเปอร์ (Dr. Roger Sperry) ศัลยแพทย์ทางประสาท
จากสถาบันเทคโนโลยี แห่งแคลิฟอร์เนีย
ผู้ได้รับรางวัลโนเบลจากการศึกษาทดลองทางด้านสมองทั้งสองซีก
ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจว่าสมองทั้งสองซีกจะมีความถนัดในเรื่องต่างๆแตกต่างกัน คือ
สมองทางซีกซ้ายจะมีศักยภาพเกี่ยวกับภาษา การฟัง ความจำการวิเคราะห์ เหตุผล
การจัดอันดับ การคิดคำนวณ สัญลักษณ์ เหตุผลเชิงตรรกและวิทยาศาสตร์
ส่วนสมองซีกขวาจะมีศักยภาพเกี่ยวกับจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์
ความรู้สึกรับรู้ภาพรวม การรับรู้ทางประสาทสัมผัส ศิลปะ
สุนทรี รูปทรง รูปแบบ สี ดนตรี มิติสัมพันธ์และการเคลื่อนไหว
จะเห็นได้ว่าถ้าเราต้องการมีจินตนาการก็ต้องใช้สมองซีกขวาบ้างแต่ที่คนส่วนใหญ่
มักขาดการเชื่อมโยงศิลปะ ก็น่าจะมาจาก ช่วงชีวิตที่ ขาดจินตนาการ
ที่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับ ที่มากเกินไป จนไม่มีการฝึกฝนจินตนาการ


ข้อมูลอ้างอิง

นายแพทย์โรเจอร์ สเปอร์ (Dr. Roger Sperry)
http://en.wikipedia.org/wiki/Roger_Wolcott_Sperry

.................................................

 หน้าที่ของสมองซีกซ้าย
กล่าวง่ายๆก็คือ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักเหตุผล
วิทยาศาสตร์ การคิดที่เป็นเหตุเป็นผลหรือการคิดเลข และหลักการต่างๆ
หน้าที่ของสมองซีกขวา
กล่าวง่ายๆก็คือ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง 
การจินตนาการ นามธรรม ศิลปะ ดนตรี เต้นรำ


วิธีการเลี้ยงดูเด็กๆ และการให้ความรู้นั้น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาสมองของเด็ก
ตามปกติแล้วเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบจะใช้สมองซีกขวามากกว่าซีกซ้าย
โดยสมองซีกซ้ายจะเริ่มเข้ามามีอิทธิพล เมื่อเด็กถึงวัย 3 ขวบเศษ
เด็กเล็กๆ จะแสดงความรู้สึกออกมาตามธรรมชาติโดยไม่ได้คิด
และเมื่อเด็กโตขึ้น ก็จะเริ่มคิดและใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา
ดังนั้นเมื่อเด็กโตขึ้น เราจึงควรฝึกให้เด็กได้ใช้สมองซีกขวาให้มากขึ้น
และเมื่อเด็กมีอายุ 6 ขวบ ก็จะสามารถใช้สมองทั้งสองด้านผสมผสานกันไปได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นการฝึกใช้สมองทั้งสองด้าน จึงควรที่จะเริ่มตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 12ขวบ
เพราะนั่นจะทำให้สมองของเด็กๆ สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ

การกระตุ้น และพัฒนาเด็กในช่วงวัยต่าง ๆ นั้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองทั้งสองซีก
เช่น การเจริญเติบโตที่แตกต่างกันของสมองซีกซ้ายและซีกขวา
จะมีผลต่อการกำหนดอุปนิสัยใจคอของคนเรา
แต่ถ้าหากเราสามารถที่จะใช้สมองทั้งสองซีก ได้ในเวลาเดียวกันแล้ว
นั่นจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ และการทำงาน ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวครับ
โดยปกติแล้วพบว่าคนส่วนใหญ่มักจะใช้สมองซีกซ้ายมากกว่า
แต่ก็ได้มีการค้นพบว่า พวกอัจฉริยะนั้นจะใช้สมองซีกขวาได้เป็นอย่างดี
(ในประเทศญี่ปุ่นได้มีโรงเรียนสอนการฝึกพัฒนาสมอง เพื่อจะฝึกสมองด้านขวาให้เก่ง
ซึ่งจะทำให้ทั้งสมองซีกซ้าย และซีกขวานั้น
พัฒนาไปด้วยกันได้อย่างเหมาะสมเป็นการส่งผลดีในระยะยาวอย่างไม่ถึงทีเดียว)

ช่วงเวลาสำคัญที่พ่อแม่ จะช่วยพัฒนาสมองของลูก 
นั่นก็คือตั้งแต่แรกเกิด ไปจนถึง 6ขวบ
โดยหลักการที่ พ่อแม่ผู้ปกครองจะสามารถทำได้  ตัวอย่างเช่น


- เมื่อเด็กมีอายุ 2 ขวบขึ้นไป ก็จะสอนในเรื่องของศีลธรรมต่างๆ หรือ เรื่องการเอาแต่ใจตัวเอง
- เมื่อเด็กมีเด็ก 3 ขวบ เริ่มฝึกความจำ เช่น ให้เด็กๆ จำธงชาติของประเทศต่างๆ 
  จำสัญลักษณ์ต่างๆการฝึกอ่านอย่างรวดเร็ว
- สร้างความสุข และความสนุกสนาน เพื่อให้ประสบการณ์การเรียนรู้
- ไม่บังคับให้เรียนรู้ที่มากเกินไป จนทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะมีผลทางด้านจิตใจของเด็ก
   หากเด็กเกิดความเครียดนั่นจะเป็น สิ่งขัดขวางการพัฒนาสมองของเด็กๆได้


การพัฒนาสมองซีกซ้ายในเด็กๆ นั้นจะต้องมีความพยายามและมีสมาธิ
ศิลปะ การวาดรูปก็นับว่าป็นการพัฒนาสมองซีกซ้าย ได้เป็นอย่างดี
พ่อแม่ผู้ปกครองอ่านจบแล้ว ก็อย่าลืมสอนให้เด็กๆวาดรูป
ซึ่งในบล๊อกของผมนี้ ก็ได้มีสอนเอาไว้แบบง่ายๆแล้วนะครับ
พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาสมอง และมีหน้าที่คอยส่งเสริม

พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนก็คงอยากที่จะให้ลูกเป็นคนเก่ง
เมื่อเป็นคนเก่งแล้ว ก็ต้องเป็นคนดีด้วย
ดังนั้น เราจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมองทั้งสองซีก ของเด็กๆนะครับ (^^)



ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : Fuji Fujisaki จากรายการดูให้รู้


About the Author:
Pramote Patana :Creator of the work.
Pramote Patana :Blog Administrator

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...