12/4/57

[children content] ควรทำยังไงดีเมื่อเด็กๆไม่ยอมทานผัก

Vegetables and children : ผัก และ เด็กๆ

เรารู้กันเป็นอย่างดี ว่าการทานผักนั้นมีประโยชน์
แค่เด็กๆไม่รู้ ว่าการทานผักนั้นมีประโยชน์
ผัก กับ เด็กๆส่วนใหญ่ มักจะเป็นคู่ตรงกันข้าม เหมือนดั่ง หยินและหยาง (^^)

ทำยังไงเมื่อเด็กๆไม่ยอมทานผัก
drawing cartoon Vegetables and children : ผัก และ เด็กๆ [by pramote patana]
มีงานวิจัยในหนังสือฉบับหนึ่ง บอกไว้ว่า
ที่เด็กๆไม่ชอบทานผักเพราะต่อมรับรสของเด็กจะรับรสขมได้ดีกว่าผู้ใหญ่มาก  
(เด็กๆ มีต่อมรับรสขมกว่า 10,000 จุด
ซึ่งในวัยผู้ใหญ่ต่อมรับรสนี้ จะลดลงจนอาจจะเหลือเพียง 2,000-4,000 จุด)
ดังนั้นเวลาเด็กๆทานผักไปแล้ว ก็จะรู้สึกขม และที่สำคัญมันไม่อร่อย
อีกทั้งผักยังมีกลิ่นที่แปลกๆ (อาจจะเป็นกลิ่นเหม็นเขียว)
เด็กๆก็เลย มักจะไม่ชอบทานผักกัน ถ้าลูกๆ ของท่านเป็นหนึ่งในเด็กที่ไม่ยอมทานผัก
มาเพิ่มโอกาสที่เด็กๆ จะยอมทานผักกันดีกว่าครับ


ฝึกฝนให้ชิน ตั้งแต่ยังเล็ก เลือกผักให้เหมาะสมกับวัยของเด็กๆ

ช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป (วัยที่เด็กเริ่มทานอาหารเสริม ) อาจเริ่มต้นด้วยน้ำซุปใสๆ

ใส่ผักนุ่มๆหวานๆลงไป เช่น ผักกาดขาว ฯลฯ เพราะผักที่อยู่ในซุป จะหวานอร่อยและไม่ค่อยมีกลิ่นที่เด็กไม่ชอบ
เมื่อเด็กเริ่มทานผักได้ ไม่คายทิ้ง ก็เริ่มพัฒนาไปเป็นผักสดต่อไป
-เมื่อเด็กอายุ 9 เดือน หรือ 1 ขวบขึ้นไป  ผักที่เด็กน่าจะทานได้ง่าย โดยเลือกผักที่มีกากน้อย 
เช่น แครอท ใบผักโขม มันเทศ ใบผักบุ้ง ใบตำลึง ฟักทอง มันฝรั่ง
โดยต้มให้นิ่มๆ ทำให้นิ่มๆโดยการ ลวก ,บด
ถ้าเด็กอายุเกิน 2 ปี ลองเริ่มจากซอยเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วลวกน้ำเดือดเพื่อไม่ให้เหม็นเขียว แล้วอาจจะใส่ไว้ในไข่เจียว
อายุ 3-4 ขวบ ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นและเริ่มคุ้นเคยกับรสชาติและกลิ่นของผักดีแล้ว 
อาจทดลองโดยให้เด็ก หัดทานผักสดที่มีรสไม่ขม เช่น แตงกวา มะเขือเทศ
หรือลองให้ทาน หัวไช้เท้า หอมใหญ่ แครอท ถั่วงอก รวมถึงบวบ และผักอื่นๆ 


*(โดยปริมาณในครั้งแรกที่ให้เด็กกินผัก ควรเริ่มจาก 1 ช้อนชา 
แล้วจึงค่อยๆเพิ่มเป็น 2 ช้อนโต๊ะ แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 1/4 ถ้วย
ควรให้ผักที่มีรสกลางๆไม่ขมหรือเฝื่อน เช่น ใบผักบุ้ง ผักโขม
และเกลือสามารถช่วยให้ผักอร่อยขึ้นได้บ้าง
(ผมคิดว่าครั้งแรกนี่น่าจะมีสำคัญมากๆ ต้องให้ความสำคัญกันหน่อยครับ)
โดยควรจะให้เด็กทานในตอนมื้อเที่ยง หรือตอนมื้อบ่าย โดยผสมกับข้าวและเนื้อสัตว์ต่างๆ)


เก็บความขุ่นมัวเอาไว้ ใช้คำพูดชื่นชมส่งเสริม 
อย่าใช้การบังคับ หรือต่อว่าเด็ดขาด
-การบีบบังคับ หรือกดดันให้รับประทานผัก ถ้าเด็กไม่ทานก็อย่าใช้การบังคับ เป็นอันขาด
เอาไว้วันหลังค่อยลองใหม่ก็ได้ครับ อย่าท้อและอย่าขุ่นมัว โมโหและดุด่า 
เพราะมันอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของความเกลียดชังฝังใจ เมื่อเขาเติบโตขึ้น



พ่อแม่ ต้องเป็นตัวอย่าง
-หากได้ทานข้าวพร้อมหน้า ทำบรรยากาศให้มีความสุข สร้างแรงจูงใจให้พวกเขา 
และเมื่อพ่อแม่ทานผักให้เห็นก่อน ก็มีโอกาสที่เด็กจะเลียนแบบและทำตาม



ใช้สื่อต่างๆ มาเป็นผู้ช่วยสอน
-เด็กๆส่วนใหญ่นั้น ชอบที่จะเลียนแบบ การใช้สื่อต่างๆ เช่นนิทานต่างๆ
หรือในยุคสมัยนี้ก็มีทั้ง เพลง การ์ตูน วีดีโอต่างๆ ที่เป็นสื่อการสอนเรื่องของการทานผัก 
สอนว่าการทานผัก มีประโยชน์อย่างไร การใช้สื่อต่างๆ มาช่วยสอนก็นับว่าเป็นวิธีที่ดี


ใช้อิทธิพลของเพื่อน และด้วยพลังของคนอื่นๆ 
-นอกจากการใช้สื่อต่างๆ มาช่วยสอนแล้ว อย่ามองข้ามพลังของคนอื่นๆ เช่นญาติๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนของเขา ที่กำลังทานผัก แล้วมีทีท่าว่าผักนั้นอร่อย



การทำสวน ปลูกผักร่วมกัน
-ถ้าบริเวณบ้านของท่าน พอจะมีพื้นที่เล็กๆ
ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรที่จะลองปลูกผักร่วมกันกับเด็กๆ
และเมื่อผักที่ปลูกเจริญเติบโต โดยการดูแลของพวกเขา 
เด็กๆก็จะได้เรียนรู้ และมีความกระตือรือร้น อยากที่จะลองปลูกผักชนิดอื่นๆ
และเหมือนข้ออื่นๆที่ว่า มีโอกาสที่เด็กๆจะทานมัน(^^)



ไปช้อปปิ้งกัน
-การไปซูเปอร์มาร์เก็ตร่วมกัน เป็นโอกาสและวิธีที่ดี
ในการพัฒนานิสัยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพในเด็ก
เป็นโอกาสการสอนให้รู้จัก ชนิดของผักต่างๆ
การมีส่วนร่วมในการเลือก ผักสดและผลไม้ ที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต
และมีส่วนช่วยวางแผนว่าจะทำอะไรทานกันดี
ก็จะเป็นการเพิ่มความสนใจในการกินอาหารของเด็กๆได้
และมีโอกาสเพิ่มขึ้นที่เด็กๆ จะอยากทานอาหารเมนูผัก
ที่เขาหรือเธอมีส่วนร่วมในการช่วยซื้อและช่วยวางแผน



สร้างสรรค์ผักให้น่าทาน ด้วยสีสัน และความคิดสร้างสรรค์
-การสร้างสรรค์ ในลักษณะที่เต็มไปด้วยสีสัน และความคิดสร้างสรรค์
เช่น กล่องข้าวกลางวัน ของพ่อแม่ชาวญี่ปุ่น(bento:เบนโตะ) ที่เรารู้จักกันดี
หรืออย่างการสร้างสรรค์ผักต่างๆ ให้เป็นรูปตัวการ์ตูนที่ลูกชอบ
ก็เป็นการเพิ่มโอกาสในการที่เด็กๆจะทานผัก
และคุณแม่ก็ได้ฝึกสมอง ฝึกฝีมือไปด้วย ได้ประโยชน์ดีเหมือนกันนะครับ (^^)



ร่วมปรุงอาหารด้วยกันกับเด็กๆ 
-ต่อเนื่องมาจาก สร้างสรรค์รูปร่างผักให้น่าทาน เมื่อร่วมปรุงอาหารกับเด็กๆ 
การจัดตกแต่งอาหารให้เป็นตัวการ์ตูนที่เด็กชอบ
หรือการตั้งชื่อให้กับผักที่นำมาประกอบเป็นชื่อที่ ตลกๆหรือน่ารักๆ
มีโอกาสที่เด็กๆจะชอบ และสนุกสนาน ในการตั้งชื่อผักด้วยตัวเอง
และ มีก็โอกาสไม่น้อยที่เด็กๆจะทานผักนั้นๆ



"ซ่อน" รสชาติไว้
-หนึ่งในวิธีที่ดีในการลดรสชาติของผัก คือการผสมกับผลไม้อร่อยๆบางอย่าง
เช่นเราอาจจะทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น (สมูทตี้) โดย ผสมเบอร์รี่และกล้วยหอม กับผักโขม หรืออื่นๆ



เป็นของว่าง
-นำผลไม้และผัก ทำเป็นรูปแบบที่เป็นของว่าง ให้เด็กๆได้พกติดกระเป๋า
และเมื่อพวกเขาหิว ก็มีโอกาสที่พวกเขาจะสนใจนำมันออกมาทาน 


ทำยังไงเมื่อเด็กๆไม่ยอมทานผัก2
drawing cartoon Vegetables and children : ผัก และ เด็กๆ [by pramote patana]
หรือถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ นึกย้อนถึงตัวเองตอนเป็นเด็กๆ 
และจำได้ว่าชอบทานผักรึปล่าว แล้วทำไมถึงเริ่มทานผัก
ถ้าจำวิธีได้ และมันได้ผลก็ควรจะนำมาใช้ได้เลย
เพราะการทานผักตั้งแต่เด็กนั้นมีประโยชน์อย่างแน่นอน

คุณประโยชน์ ของผัก
ในผักที่มีสีเขียวนั้น จะมีสารที่เรียกว่า คลอโรฟีลล์ (Chlorophyll)
และ สารต่อต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ อีกมากมาย
มีงานวิจัยของต่างประเทศให้ผลว่า คนที่มีระดับคลอโรฟีลล์ต่ำ
มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ผักที่มีสารต่อต้านมะเร็งนี้ ก็คือ คะน้าและบร็อคโคลี
ซึ่งมีสารเคมีที่เรียกว่าไอโซไทโอไซยาเนต ซึ่งเป็นสารต้านมะเร็งที่สำคัญ


.............................................................................


ผักที่จะนำมาประกอบอาหารให้เด็กควรเลือกผักปลอดสารพิษที่สดใหม่
โดยควรล้างผักให้สะอาด และ คำนึงถึงความปลอดภัยนะครับ

การจะเปลี่ยนให้เด็กๆ ที่ไม่ชอบทานผัก หันกลับ 180 องศามากลายเป็นชอบ
คิดว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย ต้องมีทั้งความอดมน อดกลั้น มีเวลาและความเอาใจใส่
ผมก็ขอเอาใจช่วย คุณพ่อคุณแม่ทุกๆท่าน ให้ประสพความสำเร็จทุกๆคนเลยนะครับ(^^)




Ps.หลานผม ก็ไม่ยอมกินผัก เหมือนกันครับ (^^)



About the Author:

Pramote Patana :Creator of the work.
Pramote Patana :Blog Administrator.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...