[Coffee Break]
นับแต่โบราณที่ญี่ปุ่นได้รับเอา วัฒนธรรมจากจีน เข้ามาผสมกลมกลืน
ปูชนียบุคคลญี่ปุ่น
(Living National Treasures of Japan)นับแต่โบราณที่ญี่ปุ่นได้รับเอา วัฒนธรรมจากจีน เข้ามาผสมกลมกลืน
ใส่เอกลักษณ์ ความเป็นญี่ปุ่นในทุกๆสิ่ง จนกลายมาเป็น วัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างเต็มรูปแบบ
และจวบจนมาถึงสมัยยุค ฟิวดัล ในสมัยของ โชกุนโตกุกาว่า
เป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นปิดประเทศ เป็นเวลากว่า 200 ปี
เรื่อยมาจนถึง ยุคสมัยที่ญี่ปุ่น ถูกชาติตะวันตกบังคับให้เปิดประเทศ
และวัฒนธรรม รวมทั้งการรับเอาสิ่งใหม่ๆ ทั้งจากจีน และตะวันตก
ในช่วงเวลานั้น ถ้าหากญี่ปุ่น ไม่รู้จักที่จะรักและหวงแหน ศิลปะเก่าๆต่างๆไว้แล้ว
สิ่งเหล่านั้นก็คงจะสูญหายไป ตามกาลเวลาอย่างแน่นอน
ชาวญี่ปุ่นนั้น รู้ถึงคุณค่า มีความรักและหวงแหนในการที่จะรักษาสิ่งมีค่าที่บรรพบุรุษได้ทิ้งเอาไว้ให้
ด้วยวิสัยทัศน์ และการมองการณ์ไกลเช่นนี้ รัฐบาลของญี่ปุ่นจึงได้มีนโยบายเป็นพิเศษ
โดยรัฐบาลของญี่ปุ่นจะออกทุนช่วยเหลือ สนับสนุนบุคคลที่มีความสามารถเฉพาะ และยังมีชีวิตอยู่
เพื่อให้บุคคลเหล่านั้น ได้แสดงฝีมือที่ตนมี เพื่อให้มีโอกาสเผยแพร่ ให้ผู้คนได้รู้จัก
ไม่ว่าจะเป็น ละครNoh, ละครBunraku, Kabuki, งานไม้, การทำถ้วยชาม,
การทอผ้า, การทำดาบ, การทำกระดาษ ฯลฯ
จากนโยบายนี้รัฐบาลญี่ปุ่น จึงได้เลือกสรร ปูชนียบุคคลชาวญี่ปุ่น
ให้มีโอกาสได้แสดงพรสวรรค์ และความสามารถ ให้คนได้เห็น
เพื่อให้คนรุ่นใหม่ ได้รับรู้ถึงคุณค่าของศิลปะเก่าๆ อันมีค่าเหล่านี้
และยังได้ส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดแก่ ผู้ที่สนใจ
เพื่อให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม แก่ชาวญี่ปุ่นในรุ่นต่อๆไป
ดังนั้นถ้าหากไม่มีปูชนียบุคคลเหล่านี้
ศิลปะเก่าอันมีค่าทั้งหลายก็คงจะอยู่ไม่ได้
Toyozo Arakawa
(荒川 豊蔵 Arakawa Toyozō, March 21, 1894 - August 11, 1985)
หนึ่งในปูชนียบุคคลชาวญี่ปุ่น
ช่างปั้นถ้วยชามเซรามิกที่ใช้ในพิธีชงชา ที่เป็นที่รู้จักกันดีในญี่ปุ่น
อาศัยและทำงานอยู่ใน Mino, ใกล้นาโกย่า
เขาได้รับชื่อเป็นปูชนียบุคคลของชาติ "Living National Treasure" ในปี ค.ศ. 1955
Toyozo Arakawa เริ่มทำถ้วยชามที่ใช้ในพิธีชงชาในปี 1930 ,
Toyozo Arakawa เสียชีวิตในโตเกียว ปี ค.ศ. 1985
และนอกจาก Toyozo Arakawa แล้วก็ยังมี ปูชนียบุคคล อีกหลายคน
ที่ได้แสดงถึงพรสวรรค์ และความสามารถ
ให้กับคนญี่ปุ่นปัจจุบัน ได้เห็นได้รับรู้ถึงคุณค่าของศิลปะเก่าๆ อันมีค่า
และมีความรักและหวงแหนในการที่จะดูแล รักษา
และสืบทอดสิ่งมีค่า ที่บรรพบุรุษได้ทิ้งเอาไว้ให้ ไม่ให้สูญหาย
การเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก และชาติอื่นๆ
ไม่ได้ทำให้ญี่ปุ่น ละทิ้งสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมของตัวเองไปไหน และยังมีการพัฒนาปรับปรุงเรื่อยมา
เช่นปัจจุบัน เรายังเห็นวัยรุ่นสาวๆสวมชุดกิโมโน
และก็ยังมี ความคิดสร้างสรรค์ปรับปรุงรูปแบบ ให้ชุดกิโมโนกลายเป็นแนวแฟชั่นสมัยใหม่ได้อีก
เป็นความน่ายกย่อง ที่ประเทศของเราน่าจะเอาเป็นเยี่ยงอย่างจริงๆนะครับ (^^)
About the Author:
Pramote Patana :Creator of the work.
Pramote Patana :Blog Administrator
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น